วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่15




บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 12 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ 

         วันนี้เป็นคาบเรียนสุดท้ายของวิชานี้และนำเสนอสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แต่ละกลุ่มสร้างสรรค์สื่อที่หลากหลาย น่าสนใจ ได้แก่ รูปทรงคณิตศาสตร์น่ารู้   จำนวนนับพาเพลิน  ต่อตัวเลขมหาสนุก  ร้านค้าพาเพลิน  จับคู่ภาพเหมือนผักผลไม้   นาฬิกาหรรษา   คณิตคิดสนุก   บันไดงูมหาสนุก   กล่องมหัศจรรย์  เป็นต้น  ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสื่อกลุ่มของตัวเองในหัวข้อ ชื่อสื่อ วิธีการเล่น เมื่อเด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร ปัญหาที่พบ  ประโยชน์ที่ได้รับ สรุป ชื่อสื่อของกลุ่มดิฉันมีชื่อว่า แผงไข่นับเลข



ชื่อสื่อ  แผงไข่นับเลข







 วิธีการเล่น

เล่นได้ 2แบบ
    แบบที่ 1   นำตัวเล่นที่เป็นภาพผลไม้ประเภทเดียวกันจำนวนเท่ากัน   มาวาลงในแผงไข่โดยเรียงลำดับจาก 1-5
   แบบที่ 2  นำตัวเล่นที่เป็นภาพฮินดูอารบิกที่มีสีเดียวกันและเลขเหมือนกัน   มาวางลงในแผงไข่โดยเรียงลำดับจาก 1-5

เมื่อให้เด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร  ได้ทักษะอะไรบ้าง

            หลังจากได้ทดลองเล่นกับน้องกระปุกแล้ว   ผลปรากฏว่า น้องกระปุกสามารถเล่นได้ทั้ง  2   แบบ  สามารถบอกจำนวนและบอกชื่อผลไม้ต่างๆและตัวเลขฮินดูอารบิก  ตั้งแต่ 1-5 ได้
           น้องกระปุกได้ทักษะในเรื่องจำนวนนับ   การเปรียบเทียบจำนวน  การเรียงลำดับ   การสังเกต  รูปทรงและขนาดข   สี  

ปัญหาที่พบ

  • สื่อไม่สามารถเล่นได้หลายคน เล่นได้แค่คนเดียว
  • การเล่นแบบที่ 1 (ตัวเลข) การวางลงในแผงไข่  ตัวเล่นกลับหัว
  • ขนาดของตัวเล่น มีขนาดเล็กเกินไป
  •  สื่อห้ามเปียกน้ำ

สรุป

       สื่อของดิฉันมีความเหมาะสำหรับเด็ก  เพราะสื่อที่ทำเล่นได้ง่ายและมีจำนวนที่พอเหมาะสำหรับเด็ก




สื่อที่ดิฉันประทับใจคือ นาฬิกาหรรษา

วิธีการเล่น
 1.    ให้เด็กได้รู้จักกับนาฬิกาก่อนว่านาฬิกามีลักษณะอย่างไร
 2.    ครูถอดชิ้นส่วนที่เป็นตัวเลขของนาฬิกาออก
 3.    ให้เด็กประกอบชิ้นส่วนของนาฬิกาให้ถูกต้องตามตัวเลขและรูปทรง
4.    ให้เด็กเลือกภาพที่มีความสัมพันธ์กับเวลาแล้วนำไปเสียบด้านบนที่เป็นวงกลม ข้างซ้ายมือเป็นพระจันหรือพระอาทิตย์ส่วนข้างขวามือเป็นภาพการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก 
 
เหตุผลที่ชอบ
          สื่อน่าสนใจ สวยงาม  ทำให้เด็กได้รู้จักเวลาและกิจวัตรประจำวัน สามารถเล่นได้หลายคน 

การนำไปใช้

         จากการนำเสนอสื่อในวันนี้ ทุกกลุ่มทำสื่อออกมาได้ดี น่าสนใจและมีประโยชน์ต่อเด็กๆเป็นอย่างมาก  สามารถนำตัวอย่างสื่อของเพื่อนๆไปประยุกต์ ทำให้เป็นสื่อที่แปลกใหม่กว่าเดิม แต่การนำสื่อไปให้เด็กเล่นควรคำนึงถึงพัฒนาการของแต่ละวัยและความปลอดภัยด้วย




บันทึกอนุทิน ครั้งที่14






บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน




วันที่ 5 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
 
 
ไม่มีการเรียนการสอน....
 
 
 

บันทึกอนุทิน ครั้งที่13




บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


 



วันที่ 29 เดือน มกราคม ปี 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
 
 
ความรู้ที่ได้รับ 

เรียนรู้ ทำความเข้าใจและฝึกเขียนแผน ในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ถูกต้อง



บรรยากาศภายในห้อง











แผนของกกลุ่มดิฉัน



แผนการจัดประสบการณ์ ชั้นอนุบาล1
 
 
 
 
 
 แผนการจัดประสบการณ์ ชั้นอนุบาล2
 
 
 
 
 แผนการจัดประสบกสรณ์ ชั้นอนุบาล3
 




ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ โดยเลือกจากแผนที่ดีที่สุด






























การนำความรู้ไปใช้

       - การประเมินผลควรสอดคล้องกับจุดประสงค์
       - การเมินผล ควรประเมินเด็กจากการกระทำ ไม่ควรใช้คำว่า " เข้าใจ "



บันทึกอนุทิน ครั้งที่12





บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน





วันที่ 22 เดือน มกราคม ปี 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
 

ความรู้ที่ได้รับ

          กิจกรรมที่1 สร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งจะได้ในเรื่องรูปทรง พีชคณิต ตัวเลข สี
          กิจกรรมที่2 ทำรูปแบบสื่อการสอนของเด็กปฐมวัย ในหัวข้อ  การเปรียบเทียบ  การเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่าง  การสำรวจสิ่งที่ชอบ

กิจกรรมที่1
             ให้แต่ละกลุ่มเลือกรูปทรงเรขาคณิตที่อาจารย์เตรียมไว้ จากนั้นให้แต่ละกลุ่มออกแบบสร้าสรรค์ผลงานตามใจชอบ โดยจะแทรกคณิตศาสตร์ในเรื่อง รูปทร ตัวเลข พีชคณิต และสี


ผลงานของแต่ละกลุ่ม  






  












 ผลงานกลุ่มของดิฉัน

               สื่อของกลุ่มดิฉัน จะสอนเด็กในเรื่องของรูปเรขาคณิตต่างๆ  เช่น ทรงสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทรงกลม  แลสอนในเรื่องของพีชคณิต การจำแนกสี      สอนเรื่องตัวเลข การนับเลข



                                                                 ตัวแทนและผลของแต่ละกลุ่ม



กิจกรรมที่2 

                     ให้แต่ละกลุ่มหยิบสลากเลือกว่ากลุ่มไหนจะได้ทำในหัวข้ออะไร โดยมีหัวข้อดังนี้              
 1. การเปรียบเทียบ    2. การเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่าง    3. การสำรวจสิ่งที่ชอบ  แล้วให้ทุกคนช่วยกันคิดหัวข้อตามเรื่องที่ได้  จากนั้นให้ร่วมกันสร้างสรรค์งาน แล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน


                                                                กลุ่มที่1  การเปรียบเทียบ
 เกี่ยวกับของใช้ในห้องครัวกับของใช้ในห้องนอน  ให้เด็กแยกประเภทของใช้แล้วนำมาติดในช่องให้ถูกต้อง


                                                                             ผลงานของกลุ่มดิฉัน
         

สุดท้าย ก็จะมีการสรุปร่วมกับเด็กๆ เช่น ของใช้ในห้องนอนได้แก่อะไรบ้าง และมีกี่ชิ้น เราจะให้เด็กนับแล้วก็ตอบ



                                                    กลุ่มที่2. การเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่าง
เป็นการเปรียบเทียบสัตว์2ชนิด คือ วัวกับแมว  เปรียบเทียบว่าสัตว์ทั้ง2ตังวนี้มีความเหมือนหรือความต่างกันอย่างไร โดยจะถามเด็กและคำตอบจากที่เด็กตอบคุณครูจะนำมาเขียนในช่อง


           สุดท้าย จะมีการสรุปร่วมกับเด็กๆว่า ระหว่างสัตว์ทั้ง2ตัว มีส่วนไหนที่เหมือนและมีส่วนไหนที่ต่างกัน


กลุ่มที่3 การสำรวจสิ่งที่ชอบ
            เป็นการสำรวจเด็กๆ ภายในห้องว่าชอบสัตว์อะไรมากที่สุด สัตว์อะไรชอบน้อยสุด และสัตว์อะไรที่ไม่มีใครชอบเลย  โดยคุณครูจะกำหนดสัตว์ แล้วให้เด็กๆ เลือกสัตว์ที่ตนเองชอบคนละ 1ตัว แล้วนำชื่อของตัวเองไปติดในช่องที่ตนเองชอบ คุณครูจะเป็นคนเตรียมชื่อของแต่ละคน


                    สุดท้าย มีการสรุปแล้วจะให้เด็กๆนับจำนวนเด็กชอบว่า ผีเสื้อมีเด็กเลือกกี่คน  ปลามีเด็กเลือกกี่คน แมวมีเด็กเลือกกี่คน  นกมีเด็กเลือกกี่คน  และสรุปว่าสัตว์ที่เด็กๆชอบมากที่สุด จำนวน2คน คือ นก
และจำนวนสัตว์ที่เด็กๆไม่ชอบเลย คือ ผีเสื้อ




        


วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่11



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน





วันที่ 15 เดือน มกราคม ปี 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
    ความรู้ที่ได้รับ
           วันนี้ทุกคนในห้องร่วมกันแต่งนิทานเล่มใหญ่ ชื่อเรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน โดยในเนื้อหาจะแทรกความรู้เรื่องคณิตศาสตร์  หลังจากร่วมกันแต่งนิทานเสร็จก็ได้แบ่งกลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มช่วยกันทำเล่มนิทาน รวบรวมเล่มแล้วให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมาเล่านิทาน
           

นิทานเรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน

          กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่ หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปที่ทำงานซึ่งไกลมาก หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงานหมูที่อยู่ บ้านหลังวงกลมเดินทางไปเก็บฟืนในป่า ซึ่งในป่ามีฟืนเยอะแยะเลย เจ้าหมู 2 ตัวนี้ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยเก็บฟืนในป่า หมูทั้ง 6 ตัวช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้มีทั้งหมด 10 ท่อน  แล้วหมูก็นำฟืนสามท่อนไปจุดไฟเพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน  และหมูก็นำฟืน 7 ท่อนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป

 ภาพในการทำกิจกรรมของกลุ่มดิฉัน







 สมาชิกในกลุ่ม




                                                     รูปเล่มนิทานของเรา เรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน 








































                                                                                                               
                                                                                                            จบ......




                                                     ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมาเล่านิทาน



ความรู้ที่ได้รับในการทำกิจกรรม

  • ได้มีเทคนิคการในการแต่งนิทานที่แทรกความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • ได้มีเทคนิคในการสร้างสรรค์เล่มนิทานในรูปแบบต่างๆได้อย่างหลากหลาย
ได้รู้จักการทำงานเป็นทีมและทำให้มีความรับผิดชอบ