วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่5




บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน



วันที่ 4 เดือน พฤศจิกายน ปี 2556
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ

                คาบนี้จะเป็นการนำเสนอต่อเมื่อจากคาบที่แล้ว โดยแต่ละกลุ่มเตรียมเกมหรือสื่อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของกลุ่มที่ตัวเองรับผิดชอบดังนี้ 


กลุ่มที่1 จำนวนและการดำเนินการ


  • กิจกรรมแรก วันนี้อากาศหนาวมาก เลยชวนเพื่อนๆ ร้องและเต้นในเพลง ออกกำลัง


กระโดขึ้นส่ายตัวไป แล้วหมุนตัวไปรอบๆ
การโดขึ้นส่ายตัวไป แล้วหมุนตัวไปรอบๆ
ชูมือซ้าย ชูมือขวา แล้วตบมือพร้อมกัน 
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 
ชูมือขวา ชูมือซ้าย โค้งคำนับให้กัน
(ซ้ำตั้งแต่ต้นจนจบ)

สรุปกิจกรรมนี้ 

 นอกจากจะได้อบอุ่นร่างกายแล้ว เด็กจะได้ฝึกการนับเลขแล้วได้ทักษะทางภาษาอีกด้วย



กิจกรรมที่1 สามารถบูรณาการทางคณิตศาสตร์ได้คือ ฝึกให้เด็กนับเลข



  • กิจกรรมที่2 จะให้เพื่อนๆได้ออกมามีส่วนร่วมในการเล่นเกมที่กลุ่มที่1 ได้เตรียมมา

เกมที่1 เกมเปรียบเทียบขนาดของภาพ  เด็กจะได้ในเรื่องเปรียบเทียบขนาด รูปทรง การนับ

เกมที่2 เกมหัวหนูหายไปไหน เด็กจะได้ในเรื่องรูปทรงและขนาด การจัดลำดับ ความน่าจะเป็น

เกมที่3 เกมนับจำนวนผลไม้ เด็กจะได้ในเรื่องของตัวเลขและการนับ การจัดลำดับจากน้อยไปหามาก จากมากไปหาน้อย 







เกมเปรียบเทียบขนาดของภาพ




เกมหัวหนูหายไปไหน



กลุ่มที่2 รูปทรงเรขาคณิต


  • เพื่อนออกมาพูดแล้วให้เพื่อนๆใช้ร่างกายของตัวเองเป็นรูปทรง เช่น ร่างกายส่วนไหนบ้างที่สามารถเป็นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม แล้วให้เพื่อนๆจับคู่ แล้วทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม

  • เกมจับคู่ความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงกับรูปภาพ

  • เกมต่อรูปทรง



เพื่อนกลุ่มที่ออกมาสาธิตวิธีการเล่นเกมจับคู่ความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงกับรูปภาพ





กลุ่มที่3 การวัด

  • เกมวัดความยาว เรียงลำดับจากสั้นไปหายาว โดยให้เปรียบเทียบความยาวระหว่างปลา หนอน ยีราฟ

  • เกมเปรียบเทียบน้ำหนัก มีมังคุด2ผล ผลเล็กกับผลใหญ่ และให้เรียงลำดับจากเล็กไปใหญ่

  • เกมการวัดปริมาตร มีแก้วน้ำ3ใบ แต่ละใบจะปริมาณของน้ำไม่เท่ากัน

  • เกมการวัดยาวของดินสอแท่งยาว แล้ววัดด้วยดินสอแท่งสั้น วัดได้เท่ากับ 3แท่ง

  • เกมเปรียบเทียบความสูง-ต่ำของตุ๊กตาหมี




เกมเปรียบเทียบความสูง-ต่ำของตุ๊กตาหมี





กลุ่มที่4 พีชคณิต




เกมหารูปที่หายไปให้มีความสำพันธ์กับโจทย์และภาพที่กำหนดให้






กลุ่มที่5 ความน่าจะเป็น
  • หาความน่าจะเป็นของลูกปิงปอง 3ลูก สีน้ำเงิน สีขาว สีส้ม

  • หาความน่าจะเป็นของเหรียญ 5บาท

  • หาความน่าจะเป็นของปากกา 3แท่ง สีเขียว สีชมพู สีส้ม







กิจกรรมในคาบเรียน 

  •  ให้แต่ละคน เขียนเลขที่ตนเองชอบ แล้วทำเป็นกลีบดอกไม้




ดิฉันชอบเลข7 ดอกไม้7กลีบ


สรุปความรู้ที่ได้รับในกิจกรรม

  • ในกิจกรรมนี้สามารถให้เด็กฝึกเรื่องของการนับ ตัวเลข การเปรียบเทียบ รูปทรง 


การนำไปใช้

  • ถ้าเกิดเราจะนำกิจกรรมนี้ไปใช้กับเด็กเราควรอำนวยความสะดวกให้กับเด็ก เราควรตัดกลีบดอกไม้ให้เด็ก  แล้วให้เด็กเป็นคนเขียนเลข และนำกลีบที่เราเตรียมเรียบร้อยแล้วมาติด



    วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

    บันทึกอนุทิน ครั้งที่4



    บันทึกอนุทิน

    วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


    วันที่ 27 เดือน พฤศจิกายน ปี 2556
    เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


    ความรู้ที่ได้รับ

                 เพื่อนออกมานำเสนอตามเรื่องที่อาจารย์มอบหมาย ดังนี้

    • กลุ่มที่1 จำนวนและการดำเนินการ 


    • กลุ่มที่2 รูปทรงเรขาคณิต     


    • กลุ่มที่3 การวัด       


    • กลุ่มที่4 พีชคณิต       


    • กลุ่มที่5 ความน่าจะเป็น

                 โดยแต่ละกลุ่มออกมาอธิบายความหมายและยกตัวอย่างภาพประกอบ เพื่อให้เพื่อนๆในห้องเข้าใจกันมากขึ้น

                 
    กลุ่มที่1 จำนวนและการดำเนินการ




    • จำนวน หมายถึง วัตถุนามธรรมที่ใช้สำหรับอธิบายปริมาณ กำหนดนับปริมาณที่กำหนดไว้ ยอดรวมที่กำหนดนับไว้เป็นส่วนๆ
    • การดำเนินการ หมายถึง การกระทำลงมือ จัดการ ปฏิบัติหน้าที่ดำเนินการ

    • จำนวนและการดำเนินการ คือ การรวบรวมและการแยกกลุ่ม เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และใช้จำนวนในชีวิตจริง



    ตัวอย่างสื่อทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนับเลข





    กลุ่มที่2 รูปทรงเรขาคณิต




    • รูปเรขาคณิต หมายถึง รูปต่างๆ ทางเรขาคณิต เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงรี

    • รูปทรงเรขาคณิต หมายถึง รูปที่มีส่วนที่เป็นพื้นผิว ส่วนสูง และส่วนลึก หรือหนา







                                               ตัวอย่างรูปเรขาคณิตกับรูปทรงเรขาคณิต




                                                  ตัวอย่างเกมโดมิโนรูปทรงต่างๆ




    เราสามารถบูรณาการรูปทรงเรขาคณิตทางคณิตศาสตร์ไปจัดในกิจกรรมกลางแจ้งได้







                           กลุ่มที่3 การวัด 

    • การวัด  คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการการจับเวลา /การวัดระยะทาง / การชั่งน้ำหนักหรือการตวง
    • หน่วยการวัด คือ การบอกปริมาตรที่ได้จากการวัด
    • ความสามารถในการวัดของเด็ก จะพัฒนาจากประสบการณ์ในการจัดหมวดหมู่การเปรียบเทียบและการจัดลำดับ ในขณะที่เด็กเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของ  หาว่าสิ่งใดยาวที่สุด จะเป็นเวลาที่เด็กใช้มโนทัศน์ในการวัด การวัดจะช่วยให้เด็ดเข้าใจเกี่ยวกับความยาว ระยะทาง ตำแหน่ง รวมถึงการคาดคะเน 


    การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด แต่เด็กวัดจาการเปรียบเทียบ ถ้ามีอุปกรณก็สามารถให้เด็กวัดได้ เช่นเหมือนตัวอย่างในภาพใช้ตุ๊กตากับไม้บรรทัดในการวัด








    จากรูปภาพนี้ จะเห็นได้ว่าดินสอจะยาวกว่ามีดกับยางลบ สามารถฝึกให้เด็กรู้จักการเปรียบเทียบด้วย





    การวัดน้ำหนักหรือการชั่งน้ำหนัก ของเด็กปฐมวัย จะไม่ใช้หน่วยของน้ำหนัก แต่เด็กจะวัดจากสาย เช่น แตงโมผลใหญ่กว่าฟักทอง เด็กก็จะตอบว่า แตงโมหนักกว่า






    กลุ่มที่4 พีชคณิต



    • พีชคณิต คือ เลขคณิตของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวนตัวเลข ความหมายคือ แทนที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนเลขเฉพาะค่า พีชคณิตแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณใดๆ ในรูปแบบทั่วไปมากกว่าโดยไม่จำเป็นต้องทราบค่าปริมาณเน้นเป็นจำนนเลขเลย



    ตัวอย่าง ค่าของน้ำหนักเด็ก






    กลุ่มที่5 ความน่าจะเป็น


    • ความน่าจะเป็น คือ ค่าที่ใช้ประเมินสถานการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยพิจารณาว่า เมื่อถึงเวลาเกิดเหตุการณ์แล้ว จะเกิดในลักษณะใด มีโอกาสที่จะเกิดมากน้อยเพียงใด การหาค่าความน่าจะเป็นจะต้องหาจากการทดลองสุ่มเท่านั้น

    •  แบบรูป หรือ บางครั้งเรียกว่า อนุกรมคือชุดของตัวเลขหรือรูปภาพที่มี ความสัมพันธ์กันอย่างไดอย่างหนึ่ง ในลักษณะของจำนวน รูปร่าง สี หรือ ขนาด  ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งเมื่อทราบกฎเกณฑ์หรือความสัมพันธ์ที่กำหนดในแต่ละแบบรูปเราก็จะสามารถบอกคาดเดา หรือ คาดการณ์ได้ว่าสิ่งของต่างๆรูปเรขาคณิต  รูปอื่นๆหรือจำนวนที่หายไป คืออะไร


    ตัวอย่างความน่าจะเป็น คือ มีเสื้อสีส้ม1ตัว มีกางเกง3ตัวมีสีน้ำเงิน สีแดง สีดำ ความเป็นไปได้คือ ครั้งแรกอาจจะหขิบเป็นกางเกงสีน้ำเงินหรือสีอื่น หรือไม่ก็ทั้งสามสี






    การนำความรู้ไปใช้
    • สามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์จากทั้งหมดทั้ง5 เรื่องที่ได้รับในวันนี้ นำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆ เช่น การเล่นกลางแจ้ง การเคลื่อนไหวและจังหวะหรือวิชาอื่นๆ เราสามารถนำเรื่องรูปทรง การนับ หรืออะไรก็แล้วแต่ ขึ้นอยู่ว่าเราจะสอนเด็กในเรื่องอะไร เรากำหนดจุดประสงค์ของแต่ละกิจกรรมว่าเด็กจะได้รับประโยชน์ในด้านไหน
    • เราสามารถนำรูปภาพ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ วัสดุรอบๆตัวเด็ก มาเป็นสื่อในการสอนคณิตศาตร์ อาจจะสอนในเรื่องการนับจำนวน รูปทรง การเปรียบเทียบ การจำแนกประเภท การจัดลำดับ ขึ้นอยู่กับผู้สอนว่าจะสอนเด็กในเรื่องอะไรและมีเทคนิคในการสอนอย่างไร




    วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

    บันทึกอนุทิน ครั้งที่3

    บันทึกอนุทิน

    วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


             วันที่ 20 เดือน พฤศจิกายน ปี 2556
             เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


    ความรู้ที่ได้รับ

    •  รู้และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ 
    • เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐาน พัฒนามโนภาพ รู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ และเพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าคำตอบด้วยตนเอง
    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

    1การสังเกต (Observation)
    • การใช้ทักษะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
    • เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของและเหตุการณ์
     เด็กเห็นยังไงก็ตอบอย่างนั้น


    2 การจำแนก (Classifying)

    • การแบ่งประเภทโดยการหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น
    • เกณฑ์ในการจำแนก คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์



    รูปภาพตัวอย่างนี้เด็กใช้ได้หลายคำตอบ แล้วแต่เด็กให้เกณฑ์อะไรในการจำแนก




    ภาพนี้เด็กจำแนกตามรูปทรง คือ สามเหลี่ยมและวงกลม และจำแนกตามสี คือ สีแดงและสีน้ำเงิน





    ภาพนี้เด็กจำแนกตามรูปทรง คือ สามเหลี่ยมและวงกลม





    ภาพนี้เด็กจำแนกตามสี

    3การเปรียบเทียบ (Comparing)

    • เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของและเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
    • เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้


    กระต่ายกับช้างในภาพนี้เด็กสามารถเปรียบเทียบขนาด ชนิด เช่น เปรียบเทียบขนาดเล็กใหญ่ เปรียบหู เปรียบเทียบขา เปรียบเทียบหาง เปรียบเทียบจมูก 


    4 การจัดลำดับ (Ordering)

    • เป็นการเปรียบเทียบขั้นสูง
    • การจัดลำดับวัตถุุสิ่งของหรือเหตุการณ์


    ภาพนี้เด็กสามารถจัดลำดับจากใหญ่ไปเล็ก


    ภาพนี้เด็กสามารถจัดลำดับจากเล็กไปใหญ่

    5 การวัด (Measurement) 

    • มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
    • การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
              การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด เช่น เซนติเมตร นิ้ว ฟุต แต่เด็กวัดจากการเปรียบเทียบ ถ้ามีอุปกรณ์อะไรก็สามารถให้เด็กใช้วัดได้



    ภาพนี้เด็กวัดความสูงด้วยไม้บรรทัด เด็กจะตอบว่าความสูงจะเท่ากับ2ไม้บรรทัด




    ภาพนี้เด็กวัดความสูงด้วยไม้บรรทัด เด็กจะตอบว่าความสูงจะเท่ากับตุ๊กตาหมี3ตัว





    ภาพนี้เมื่อเด็กเห็นจะตอบว่า เชือกสีเขียวยาวกว่า แต่เราสามารถสอนให้เด็กวัดได้ เช่น ดึงเชือกทั้ง2เส้นให้เท่ากัน สามารถเอาไม้บรรทัดหรือสิ่งรอบๆตัวมาวัดก๊็ได้


    6 การนับ (Counting)

    • เด็กชอบนับแบบการท่องจำ โดยไม่เข้าใจความหมาย
    • การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงจุดประสงค์บางอย่าง
              การนับที่ดี จำเป็นต้องเชื่อมโยงว่ามีความเข้าใจความหมายว่าอย่างไร ไม่ต้องเน้นให้เด็กจำอย่างไม่มีความหมาย



    7 รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)

    • เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน
    • ตัวเลข น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า
    • ขนาด ใหญ่ เล็ก สูง เตี้ย
    • รูปร่าง วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม
    • ความเร็ว ช้า เร็ว เดิน วิ่ง 
    • อุณหภูมิ  เย็น ร้อน อุ่น เดือด


       สรุป 

    •  เด็กเห็นยังไงก็ตอบอย่างนั้น
    • เด็กสามารถใช้ได้หลายคำตอบ แล้วแต่เด็กให้เกณฑ์อะไรในการจำแนก
    • การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด เช่น เซนติเมตร นิ้ว ฟุต แต่เด็กวัดจากการเปรียบเทียบ ถ้ามีอุปกรณ์อะไรก็สามารถให้เด็กใช้วัดได้
    • การนับที่ดี จำเป็นต้องเชื่อมโยงว่ามีความเข้าใจความหมายว่าอย่างไร ไม่ต้องเน้นให้เด็กจำอย่างไม่มีความหมาย



    กิจกรรม


    • ให้วาดภาพสถานที่ ที่เราเดินผ่านมาเรียน โดยกำหนดให้วาด3 สถานที่ ที่เราจำได้หรือประทับใจ


      จากภาพนี้ สถานที่แรก คือ ร้านฟ้าใส เป็นร้านขายเครื่องสำอาง
       สถานที่ที่2 คือ ร้านนมปั่น  สถานที่ที่3 คือ ร้านอินเตอร์เน็ต


    สิ่่งที่ได้รับจากกิจกรรม

    • การเรียงลำดับสถาน ว่าเราเดินผ่านสถานที่ไหนก่อนหรือหลัง
    • การจำแนกประเภท ว่าแต่ละสถานที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกันไหม
    • การเปรียบเทียบ ว่าขนาดของแต่ละร้านมีขนาดเท่ากันไหม
    • รูปทรงและขนาด ของแต่ละร้านไม่เหมือนกัน เช่น สีเหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจตุรัส และขนาดของแต่ละร้านไม่เท่ากัน เช่น ร้านขายเครื่องสำอางจะกว้างกว่าร้านมปั่น