วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่4



บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วันที่ 27 เดือน พฤศจิกายน ปี 2556
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ

             เพื่อนออกมานำเสนอตามเรื่องที่อาจารย์มอบหมาย ดังนี้

  • กลุ่มที่1 จำนวนและการดำเนินการ 


  • กลุ่มที่2 รูปทรงเรขาคณิต     


  • กลุ่มที่3 การวัด       


  • กลุ่มที่4 พีชคณิต       


  • กลุ่มที่5 ความน่าจะเป็น

             โดยแต่ละกลุ่มออกมาอธิบายความหมายและยกตัวอย่างภาพประกอบ เพื่อให้เพื่อนๆในห้องเข้าใจกันมากขึ้น

             
กลุ่มที่1 จำนวนและการดำเนินการ




  • จำนวน หมายถึง วัตถุนามธรรมที่ใช้สำหรับอธิบายปริมาณ กำหนดนับปริมาณที่กำหนดไว้ ยอดรวมที่กำหนดนับไว้เป็นส่วนๆ
  • การดำเนินการ หมายถึง การกระทำลงมือ จัดการ ปฏิบัติหน้าที่ดำเนินการ

  • จำนวนและการดำเนินการ คือ การรวบรวมและการแยกกลุ่ม เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และใช้จำนวนในชีวิตจริง



ตัวอย่างสื่อทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนับเลข





กลุ่มที่2 รูปทรงเรขาคณิต




  • รูปเรขาคณิต หมายถึง รูปต่างๆ ทางเรขาคณิต เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงรี

  • รูปทรงเรขาคณิต หมายถึง รูปที่มีส่วนที่เป็นพื้นผิว ส่วนสูง และส่วนลึก หรือหนา







                                           ตัวอย่างรูปเรขาคณิตกับรูปทรงเรขาคณิต




                                              ตัวอย่างเกมโดมิโนรูปทรงต่างๆ




เราสามารถบูรณาการรูปทรงเรขาคณิตทางคณิตศาสตร์ไปจัดในกิจกรรมกลางแจ้งได้







                       กลุ่มที่3 การวัด 

  • การวัด  คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการการจับเวลา /การวัดระยะทาง / การชั่งน้ำหนักหรือการตวง
  • หน่วยการวัด คือ การบอกปริมาตรที่ได้จากการวัด
  • ความสามารถในการวัดของเด็ก จะพัฒนาจากประสบการณ์ในการจัดหมวดหมู่การเปรียบเทียบและการจัดลำดับ ในขณะที่เด็กเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของ  หาว่าสิ่งใดยาวที่สุด จะเป็นเวลาที่เด็กใช้มโนทัศน์ในการวัด การวัดจะช่วยให้เด็ดเข้าใจเกี่ยวกับความยาว ระยะทาง ตำแหน่ง รวมถึงการคาดคะเน 


การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด แต่เด็กวัดจาการเปรียบเทียบ ถ้ามีอุปกรณก็สามารถให้เด็กวัดได้ เช่นเหมือนตัวอย่างในภาพใช้ตุ๊กตากับไม้บรรทัดในการวัด








จากรูปภาพนี้ จะเห็นได้ว่าดินสอจะยาวกว่ามีดกับยางลบ สามารถฝึกให้เด็กรู้จักการเปรียบเทียบด้วย





การวัดน้ำหนักหรือการชั่งน้ำหนัก ของเด็กปฐมวัย จะไม่ใช้หน่วยของน้ำหนัก แต่เด็กจะวัดจากสาย เช่น แตงโมผลใหญ่กว่าฟักทอง เด็กก็จะตอบว่า แตงโมหนักกว่า






กลุ่มที่4 พีชคณิต



  • พีชคณิต คือ เลขคณิตของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวนตัวเลข ความหมายคือ แทนที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนเลขเฉพาะค่า พีชคณิตแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณใดๆ ในรูปแบบทั่วไปมากกว่าโดยไม่จำเป็นต้องทราบค่าปริมาณเน้นเป็นจำนนเลขเลย



ตัวอย่าง ค่าของน้ำหนักเด็ก






กลุ่มที่5 ความน่าจะเป็น


  • ความน่าจะเป็น คือ ค่าที่ใช้ประเมินสถานการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยพิจารณาว่า เมื่อถึงเวลาเกิดเหตุการณ์แล้ว จะเกิดในลักษณะใด มีโอกาสที่จะเกิดมากน้อยเพียงใด การหาค่าความน่าจะเป็นจะต้องหาจากการทดลองสุ่มเท่านั้น

  •  แบบรูป หรือ บางครั้งเรียกว่า อนุกรมคือชุดของตัวเลขหรือรูปภาพที่มี ความสัมพันธ์กันอย่างไดอย่างหนึ่ง ในลักษณะของจำนวน รูปร่าง สี หรือ ขนาด  ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งเมื่อทราบกฎเกณฑ์หรือความสัมพันธ์ที่กำหนดในแต่ละแบบรูปเราก็จะสามารถบอกคาดเดา หรือ คาดการณ์ได้ว่าสิ่งของต่างๆรูปเรขาคณิต  รูปอื่นๆหรือจำนวนที่หายไป คืออะไร


ตัวอย่างความน่าจะเป็น คือ มีเสื้อสีส้ม1ตัว มีกางเกง3ตัวมีสีน้ำเงิน สีแดง สีดำ ความเป็นไปได้คือ ครั้งแรกอาจจะหขิบเป็นกางเกงสีน้ำเงินหรือสีอื่น หรือไม่ก็ทั้งสามสี






การนำความรู้ไปใช้
  • สามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์จากทั้งหมดทั้ง5 เรื่องที่ได้รับในวันนี้ นำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆ เช่น การเล่นกลางแจ้ง การเคลื่อนไหวและจังหวะหรือวิชาอื่นๆ เราสามารถนำเรื่องรูปทรง การนับ หรืออะไรก็แล้วแต่ ขึ้นอยู่ว่าเราจะสอนเด็กในเรื่องอะไร เรากำหนดจุดประสงค์ของแต่ละกิจกรรมว่าเด็กจะได้รับประโยชน์ในด้านไหน
  • เราสามารถนำรูปภาพ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ วัสดุรอบๆตัวเด็ก มาเป็นสื่อในการสอนคณิตศาตร์ อาจจะสอนในเรื่องการนับจำนวน รูปทรง การเปรียบเทียบ การจำแนกประเภท การจัดลำดับ ขึ้นอยู่กับผู้สอนว่าจะสอนเด็กในเรื่องอะไรและมีเทคนิคในการสอนอย่างไร




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น