วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


         วันที่ 20 เดือน พฤศจิกายน ปี 2556
         เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ

  •  รู้และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ 
  • เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐาน พัฒนามโนภาพ รู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ และเพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าคำตอบด้วยตนเอง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

1การสังเกต (Observation)
  • การใช้ทักษะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
  • เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของและเหตุการณ์
 เด็กเห็นยังไงก็ตอบอย่างนั้น


2 การจำแนก (Classifying)

  • การแบ่งประเภทโดยการหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น
  • เกณฑ์ในการจำแนก คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์



รูปภาพตัวอย่างนี้เด็กใช้ได้หลายคำตอบ แล้วแต่เด็กให้เกณฑ์อะไรในการจำแนก




ภาพนี้เด็กจำแนกตามรูปทรง คือ สามเหลี่ยมและวงกลม และจำแนกตามสี คือ สีแดงและสีน้ำเงิน





ภาพนี้เด็กจำแนกตามรูปทรง คือ สามเหลี่ยมและวงกลม





ภาพนี้เด็กจำแนกตามสี

3การเปรียบเทียบ (Comparing)

  • เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของและเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
  • เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้


กระต่ายกับช้างในภาพนี้เด็กสามารถเปรียบเทียบขนาด ชนิด เช่น เปรียบเทียบขนาดเล็กใหญ่ เปรียบหู เปรียบเทียบขา เปรียบเทียบหาง เปรียบเทียบจมูก 


4 การจัดลำดับ (Ordering)

  • เป็นการเปรียบเทียบขั้นสูง
  • การจัดลำดับวัตถุุสิ่งของหรือเหตุการณ์


ภาพนี้เด็กสามารถจัดลำดับจากใหญ่ไปเล็ก


ภาพนี้เด็กสามารถจัดลำดับจากเล็กไปใหญ่

5 การวัด (Measurement) 

  • มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
  • การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
          การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด เช่น เซนติเมตร นิ้ว ฟุต แต่เด็กวัดจากการเปรียบเทียบ ถ้ามีอุปกรณ์อะไรก็สามารถให้เด็กใช้วัดได้



ภาพนี้เด็กวัดความสูงด้วยไม้บรรทัด เด็กจะตอบว่าความสูงจะเท่ากับ2ไม้บรรทัด




ภาพนี้เด็กวัดความสูงด้วยไม้บรรทัด เด็กจะตอบว่าความสูงจะเท่ากับตุ๊กตาหมี3ตัว





ภาพนี้เมื่อเด็กเห็นจะตอบว่า เชือกสีเขียวยาวกว่า แต่เราสามารถสอนให้เด็กวัดได้ เช่น ดึงเชือกทั้ง2เส้นให้เท่ากัน สามารถเอาไม้บรรทัดหรือสิ่งรอบๆตัวมาวัดก๊็ได้


6 การนับ (Counting)

  • เด็กชอบนับแบบการท่องจำ โดยไม่เข้าใจความหมาย
  • การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงจุดประสงค์บางอย่าง
          การนับที่ดี จำเป็นต้องเชื่อมโยงว่ามีความเข้าใจความหมายว่าอย่างไร ไม่ต้องเน้นให้เด็กจำอย่างไม่มีความหมาย



7 รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)

  • เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน
  • ตัวเลข น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า
  • ขนาด ใหญ่ เล็ก สูง เตี้ย
  • รูปร่าง วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม
  • ความเร็ว ช้า เร็ว เดิน วิ่ง 
  • อุณหภูมิ  เย็น ร้อน อุ่น เดือด


   สรุป 

  •  เด็กเห็นยังไงก็ตอบอย่างนั้น
  • เด็กสามารถใช้ได้หลายคำตอบ แล้วแต่เด็กให้เกณฑ์อะไรในการจำแนก
  • การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด เช่น เซนติเมตร นิ้ว ฟุต แต่เด็กวัดจากการเปรียบเทียบ ถ้ามีอุปกรณ์อะไรก็สามารถให้เด็กใช้วัดได้
  • การนับที่ดี จำเป็นต้องเชื่อมโยงว่ามีความเข้าใจความหมายว่าอย่างไร ไม่ต้องเน้นให้เด็กจำอย่างไม่มีความหมาย



กิจกรรม


  • ให้วาดภาพสถานที่ ที่เราเดินผ่านมาเรียน โดยกำหนดให้วาด3 สถานที่ ที่เราจำได้หรือประทับใจ


  จากภาพนี้ สถานที่แรก คือ ร้านฟ้าใส เป็นร้านขายเครื่องสำอาง
   สถานที่ที่2 คือ ร้านนมปั่น  สถานที่ที่3 คือ ร้านอินเตอร์เน็ต


สิ่่งที่ได้รับจากกิจกรรม

  • การเรียงลำดับสถาน ว่าเราเดินผ่านสถานที่ไหนก่อนหรือหลัง
  • การจำแนกประเภท ว่าแต่ละสถานที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกันไหม
  • การเปรียบเทียบ ว่าขนาดของแต่ละร้านมีขนาดเท่ากันไหม
  • รูปทรงและขนาด ของแต่ละร้านไม่เหมือนกัน เช่น สีเหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจตุรัส และขนาดของแต่ละร้านไม่เท่ากัน เช่น ร้านขายเครื่องสำอางจะกว้างกว่าร้านมปั่น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น